การจดลิขสิทธิ์
1. ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแตเพียงผูเดียวที่จะกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผูสรางสรรคไดทําขึ้น โดยการแสดงออก ตามประเภทงานลิขสิทธิ์ตาง ๆ ลิขสิทธิ์ เปนผลงานที่เกิดจาการใชสติปญญา ความรูความสามารถและความวิริยะ อุตสาหะในการสรางสรรคงานให เกิดขึ้น ซึ่งถือวาเปน "ทรัพยสินทางปญญา"ประเภทหนึ่งที่มีคุณคาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเจาของผลงานทางลิขสิทธิ์จึงควรไดรับความคุมครองตามกฎหมาย ลิขสิทธ เปนทรัพยสินประเภทที่สามารถ ซื้อ ขาย หรือโอนสิทธิกันได ทั ้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่น ๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทําเปนลายลักษณอักษร หรือ ทําเปนสัญญาใหชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางสวนก็ได
2. ลิขสิทธิ์จะมีไดในงานตาง ๆ 9 ประเภท
2.1. งานวรรณกรรม ไดแก หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ ปาฐกถา โปรแกรมคอมพิวเตอร
2.2. งานนาฏกรรม ไดแก งานเกี่ยวกับการรํา การเตน การทําทา หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเปนเรื่องราว
การแสดงโดยวิธีใบ
2.3. งานศิลปกรรม ไดแก งานจิตกรรม งานปฏิมากรรม งานภาพพิมพ งานสถาปตยกรรม งานภาพถายภาพประกอบ แผนที่โครงสราง งานศิลปประยุกต และรวมทั้งภาพถายและแผนผังของงานดังกลาว
2.4. งานดนตรีกรรม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับเพลง ทํานองและเนื้อรอง หรือทํานองอยางเดียว และรวมถึง
โนตเพลงที่ไดแยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล ว
2.5. งานโสตทัศนวัสดุ เชน วิดีโอเทป แผนเลเซอรดิสก
2.6. งานภาพยนตร
2.7. งานสิ่งบันทึกเสียง เชน เทปเพลง แผนคอมแพ็คดิสก
2.8. งานแพรเสียงและภาพ เชน งานที่นําออกเผยแพรทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน
2.9. งานอื่นใดอันเปนงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร หรือแผนกศิลปะ
3. ผลงานที่ไมถือวามีลิขสิทธิ์
3.1. ขาวประจําวัน และขอเท็จจริงตาง ๆ ที่มีลักษณะเปนเพียงขาวสาร อันมิใชงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร หรือแผนกศิลปะ
3.2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
3.3. ระเบียบ ขอบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโตตอบของกระทรวง ทบวง กรม หนวยงานของรัฐ หรือของทองถิ่น
3.4. คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
3.5. คําแปลและการรวบรวม ตามขอ 3.1 – 3.4 ซึ่งทางราชการจัดทําขึ้น
4. การได มาซึ่งลิขสิทธิ์สิทธิ์ ในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันที นับตั้งแตผูสรางสรรคไดสรางสรรคผลงานโดยไมตองจด ทะเบียน ดังนั้น เจาของลิขสิทธิ์จึงควรที่จะปกปองคุมครองสิทธิ์ของตนเอง โดยการเก็บรวบรวมหลักฐานตาง ๆ ที่ได ทําการสรางสรรคผลงานนั้นขึ้น เพื่อประโยชนในการพิสูจนสิทธิ์ หรือความเปนเจาของในโอกาสตอไป
5. ใครคือเจ าของลิขสิทธิ์ เจาของลิขสิทธิ์นอกจากจะเปนผูสรางสรรคงานแลว บุคคลอื่นอาจมีสิทธิ์ในงานที่สรางสรรค นั้นก็ได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับขอเท็จจริงตางๆ ในการไดมาซึ่งลิขสิทธิ์ เชนการสรางสรรคงานรวมกัน การวาจ างใหสรางสรรค งาน การโอนสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ เปนตน ดังนั้นผูมีลิขสิทธิ์จะเปนบุคคล หรือกลุมบุคคล ตอไปนี้
5.1. ผูสรางสรรคงานขึ้นใหม ทั้งที่สรางสรรคงานดวยตนเองเพียงผูเดียว หรือผูสรางสรรคงานรวมกัน
5.2. ผูสรางสรรคในฐานะพนักงาน หรือลูกจาง
5.3. ผูวาจาง
5.4. ผูรวบรวมหรือประกอบกันเขา
5.5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหนวยงานอื่นใดของร ัฐหรือทองถิ่น
5.6. ผูรับโอนลิขสิทธิ์
5.7. ผูสรางสรรคซึ่งเปนคนชาติภาคีอนุสัญญาระหวางประเทศ เชน อนุสัญญากรุงเบอรน และประเทศในภาคีสมาชิกโองการคาโลก
5.8. ผูพิมพโฆษณางานที่ใชนามแฝงหรือนามปากกกาที่ไมปรากฏชื่อผูสรางสรรค
6. การคุมครองลิขสิทธิ์ เจาของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์แตเพียงผูเดียวที่จะกระทําการใด ๆ ตองานอันมีลิขสิทธิ์ของตน ดังนี้
6.1. ทํ าซ้ํา หรือดัดแปลง
6.2. การเผยแพรตอสาธารณชน
6.3. ใหเชาตนฉบับ หรือสําเนางาน โปรแกรมคอมพิวเตอร โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร และสิ่งบันทึกเสียง
6.4. ใหประโยชนอันเกิดจากลิขสิทธิ์แกผูอื่น
6.5. อนุญาตใหผูอื่นใชสิทธิ์ในการเชาซื้อ ดัดแปลง เผยแพรตอสาธารณชน และใหเชาตนฉบับ 6.6. อายุแหงการคุมครองลิขสิทธิ์
7. ผลของการคุมครองลิขสิทธิ์โดย ท ั่วไป การคุมครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสรางสรรคผลงาน โดยความคุมครองนี้จะมีผลตลอดอายุของผูสรางสรรค และจะคุมครองตองไปอีก 50ป นับตั้งแตผูสรางสรรค เสียชีวิต หากแตมีงานบางประเภทจะมีการคุมครองที่แตกตางกันไป โดยสรุปดังนี้
7.1. ในงานทั่วไป ลิขสิทธิ์ จะม ีอยูตลอดอายุของผูสรางสรรค และจะมีตอไปอีก 50ป นับตั้งแตผูสรางสรรคถึง แกความตาย กรณีเปนผูสรางสรรครวม ก็ใหนับจากผูสรางสรรคคนสุดทายถึงแกความตาย กรณีเปนนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะ มีอายุ 50ป นับตั้งแตที่ไดสรางสรรคงานนั้นขึ้น กรณีผูสรางสรรคใชนามแฝง หรือไมปรากฏชื่อผูสรางสรรค ลิขสิทธิ์มี อายุ 50ป นับตั้งแตไดสรางสรรคงานนั้นขึ้น
7.2. งานภาพถาย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร หรืองานแพรเสียงแพรภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50ป นับแตได สรางสรรคงานขึ้น
7.3. งานที่สรางสรรค โดยการวาจาง หรือตามคําสั่งใหมีอายุ 50ป นับแตไดสรางสรรคงานขึ้น
7.4. งานศิลปประยุกต ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 25ป นับแตไดสรางสรรคงานขึ้น กรณีที่ไดมีการโฆษณางานเหลานั้น
ในระหวางระยะเวลาดังกลาว ใหลิขสิทธิ์มีอายุตอไปอีก 50 ป นับตั้งแตโฆษณาครั้งแรก ยกเวนในกรณ ีงานศิลปประยุกต ใหลิขสิทธิ์มีอายุตอไปอีก 25 ป นับแตโฆษณาครั้งแรก
8. ประโยชนของลิขสิทธิ์
8.1. ประโยชนของเจาของลิขสิทธิ์ เจาของลิขสิทธิ์จะไดรับความคุมครองตามกฎหมาย ลิขสิทธิ์ และมีสิทธิ์แต
เพียงผูเดียวที่จะกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ไดสรางสรรคขึ้น หรือผลงานตามขอใดขอหนึ่งดังที่กลาวไวขางตน ดังนั้น เจาของล ิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์ทําซ้ํา หรือดัดแปลง จําหนาย ใหเชา คัดลอก เลียนแบบ ทําสําเนา การทําใหปรากฏตอ สาธารณชน หรืออนุญาตใหผูอื่นใชสิทธิ์ของตนทั้งหมด หรือแตบางสวนก็ได โดยเจาของลิขสิทธิ์ยอมไดรับคาตอบแทน ที่เปนธรรม
8.2. ประโยชนของประชาชนหรือผูบริโภค การคุมครองและพิทักษสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์มีผลใหเกิด แรงจูงใจแกผู สรางสรรคผลงาน ที่จะสรางสรรคผลงานท ี่เปนประโยชน มีคุณคาทางวรรณกรรมและศ ิลปกรรม ออกสู ตลาดใหมากขึ้น สงผลใหผูบริโภคไดรับความรู ความบันเทิง และไดผลงานที่มีคุณภาพ
9. การแจงขอมูลลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์เปนสิทธิ์ที่เกิดขึ้นทันทีที่มีการสรางสรรคผลงานโดยไมตองจดทะเบียน อยางไรก็ตาม กรมทรัพยสินทางปญญา กระทรวงพาณิชย ไดรับทําใหมีการแจงขอมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใชเปนฐานขอมูลและรวบรวมขอมูล เบื้องต น เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ซึ่งจะเปนองคประกอบหนึ่งในการพ ิทักษและคุมครองสิทธิ์เจาของลิขสิทธิ์ นอกจากนี้แลวยัง เปนแหลงขอมูลสําหรับผูตองการขออนุญาตใชลิขสิทธิ์ สามารถตรวจค นเพื่อประโยชน ในการติดตอธุรกิจกับเจาของ ลิขสิทธ ิ์ดวยการ แจงขอมูลลิขสิทธิ์ไมไดหมายความวาจะทําใหผูแจงไดรับสิทธิ์ในผลงาน นั้น หรือเปนเจาของลิขสิทธิ์ ดังนั้น การแจงขอมูลลิขสิทธิ์จะไมกอใหเกิดสิทธิ์ใด ๆ เพิ่มขึ้นจากสิทธิ์ที่มีอยูเดิมของเจาของลิขสิทธิ์ที่แทจริง
ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
1. การตัดสินใจเลือกรูปแบบการขอรับความคุ้มครอง
เมื่อได้ทำการประดิษฐ์คิดค้นหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นมา และประสงค์จะขอรับความคุ้มครองอาจจะมีปัญหาว่าควรจะขอรับความคุ้มครองในรูปแบบใดจึงเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความคุ้มครองควรที่จะคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. สิ่งที่คิดค้นขึ้นมานั้นเป็นการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ในกรณีนี้สามารถที่จะพิจารณาได้ง่ายๆ ว่า ถ้าสิ่งนั้นเป็นการคิดค้นที่ก่อให้เกิดลักษณะใหม่ที่มีหน้าที่การทำงาน ประโยชน์ใช้สอยก็สามารถสรุปได้ทันที่ว่าเป็นการประดิษฐ์ แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นการคิดค้นเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ หรือลวดลายที่ปรากฏอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สามารถสรุปได้ว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งควรที่จะยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ในกรณีที่เป็นการประดิษฐ์ ก็ต้องสินใจอีกว่าควรที่จะขอรับความคุ้มครอง สิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตร ในกรณีนี้ ผู้ขอความคุ้มครองควรที่จะคำนึงถึงต่อไปว่า สิงประดิษฐ์นั้นมีเทคนิคที่ซับซ้อนหรือไม่ หากมีเทคนิคที่ซับซ้อนก็ควรที่จะขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขที่ว่า จะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้นั่นคือจะต้องดูว่าลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ควรที่จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขใด
2. องค์ประกอบอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า อายุการคุ้มครอง ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นต้น ซึ่งผู้ขออาจจะนำมาประกอบการพิจารณาเลือกว่าจะยื่นคำขอแบบใด
2. ขั้นตอนการจดทะเบียน
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
1. การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 500 บาท ที่ซึ่งคำขอจะต้องประกอบด้วย
1.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/อสป/001-ก
1.2 รายละเอียดการประดิษฐ์ ที่มีหัวข้อครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
1.3 ข้อถือสิทธิ
1.4 บทสรุปการประดิษฐ์
1.5 รูปเขียน ( ถ้ามี )
1.6 เอกสารอื่นๆ ( ถ้ามี ) เช่น หนังสือโอนสิทธิ สัญญาการว่าจ้าง หนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคล เป็นต้น
รายการที่ 1.2-1.6 ผู้ขอจะต้องจัดเตรียมขึ้นเองในกระดาษ ขนาด A4
2. เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้ว ถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอหรือ
ตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาว่า จะต้องดำเนินการภายใจ 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากดำเนินการไม่ทันก็สามารถขอผ่อนผันได้ หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
3. ในการแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอจะต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติม
พร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียม
4. ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาเป็นเงิน 250 บาท โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งสองครั้งๆ ละ 60 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ และให้จัดส่งคำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุดอีกหนึ่งชุดพร้อมทั้งส่งคำแปลข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านกรณีที่ผู้อื่นเห็นว่าสิ่งที่ยื่นขอสิทธิบัตรนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย หรือผู้ขอไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์แอบเอาของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์มาจดทะเบียน
5. เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว ผู้ขอต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 250 บาท โดยใช้แบบ สป/อสป/005-ก ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศโฆษณา หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
6. ภายหลังจากมีการขอให้ตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการสืบค้นเอกสารว่า เคยมีสิ่งประดิษฐ์เดียวกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ( รวมทั้งตรวจค้นเอกสารจากต่างประเทศด้วย ) ถ้าคำขอถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย จะแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนเป็นเงิน 500 บาท และออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอต่อไป หากไม่ถูกต้องจะยกคำขอ
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
1. การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 250 บาทที่ซึ่งคำขอต้องประกอบด้วย
1.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/อสป/001-ก ซึ่งมี 2 หน้า
1.2 คำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์ ( ถ้ามี )
1.3 ข้อถือสิทธิ
1.4 รูปเขียน
1.5 เอกสารอื่นๆ ( ถ้ามี ) เช่น หนังสือโอนสิทธิ สัญญาการว่าจ้าง หนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคล เป็นต้น
รายการที่ 1.2-1.5 ผู้ขอจะต้องจัดเตรียมขึ้นเองในกระดาษ ขนาด A4
2. เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้วถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาว่าจะต้องดำเนินการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากดำเนินการไม่ทันก็สามารถขอผ่อนผันได้ หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
3. ในการแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอจะต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียม
4. ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาเป็นเงิน 250 บาท โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งสองครั้งๆ ละ 60 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ และให้จัดส่งคำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุดอีกหนึ่งชุดเพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้าน กรณีที่ผู้อื่นเห็นว่าสิ่งที่ยื่นขอสิทธิบัตรนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย หรือผู้ขอไม่ได้เป็นผู้คิดค้นแอบเอาของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์มาจดทะเบียน
5. กรณีสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ ผู้ขอไม่ต้องยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ซึ่งจะใช้เฉพาะกรณีการประดิษฐ์เท่านั้น เมื่อประกาศโฆษณาครบ 90 วันแล้วเจ้าหน้าที่จะทำการสืบค้นว่าเคยมีแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกันแพร่หลายมาก่อนหรือไม่ ถ้าคำขอถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย จะแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนเป็นเงิน 500 บาท และออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอต่อไป หากไม่ถูกต้องจะยกคำขอ
อนุสิทธิบัตร
1. การยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร จะต้องยื่นคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียมที่ซึ่งคำขอจะต้องประกอบด้วย
1.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/อสป/001-ก
1.2 รายละเอียดการประดิษฐ์ ที่มีหัวข้อครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
1.3 ข้อถือสิทธิ
1.4 บทสรุปการประดิษฐ์
1.5 รูปเขียน (ถ้ามี)
1.6 เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น หนังสือโอนสิทธิ สัญญาการจ้าง หนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคลเป็นต้น
รายการที่ 1.2-1.6 ผู้ขอจะต้องเตรียมขึ้นเองในกระดาษขนาด เอ 4
2. เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้ว ถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาว่า จะต้องดำเนินการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากดำเนินการไม่ทันก็สามารถขอผ่อนผันได้ หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
3. ในการแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอจะต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียม
4. ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว จะรับจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตร และประกาศโฆษณาเป็นเงิน 500 บาท ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง สองครั้งหากครั้งที่สองไม่มาตามแจ้ง จะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอละทิ้งคำขอ ในการประกาศโฆษณาจะประกาศในหนังสือประกาศโฆษณาอนุสิทธิบัตร เป็นเวลา 1 ปี
5. เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว บุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสีย สามารถที่จะขอให้ตรวจสอบอนุสิทธิบัตรว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ภายใน 1 ปีนับจากวันทีประกาศโฆษณา โดยใช้แบบ สป/อสป/005-ก หากปรากฏว่า อนุสิทธิบัตรนั้นไม่เป็นไปตามกฎหมายก็จะถูกเพิกถอนต่อไป
3. สถานที่และวิธีการขื่นขอจดเบียน
สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน
สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน (ชั้น 3) สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ. สนามบินน้ำ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่
วิธีการยื่นขอจดทะเบียน
1. ยื่นขอโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
2. ส่งคำขอทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม โดยชำระทางธนาณัติสั่งจ่ายในนาม กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ระบบการบริหารงานการจดสิทธิบัตร
ข้อมูล : กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ https://www.ipthailand.go.th/